ประชุมเวทีแรก ของทีมเฝ้าระวังช้างป่าใต้ร่มเย็น (เสริมบทบาทตนเองให้เป็นนักวิจัยท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า)
ของทีมเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง
ในกิจกรรมการวิจัยเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าอย่างสันติ สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ในหัวข้อ วิจัยแนวทางเพิ่มศักยภาพ และสร้างมาตรฐานการเฝ้าระวังช้างป่า
วิเคราะห์ปัญหา จุดอ่อนจากประสบการณ์ของชุดเฝ้าระวัง
1. วิธีการผลักดันเฝ้าระวัง ควรเป็นแบบทีมตายตัวหรือเสริมความร่วมมือ (ชุมชน)
2. ระบบการแจ้งข่าวที่ไม่ชัดเจน
3. ช้างป่าที่แยกฝูง (เฝ้าระวังยากขึ้น-ช้างเดินเร็วขึ้น)
4. เกิดความคาดหวังจากชุมชนกับชุดเฝ้าระวัง
5. ยังขาดการประสานกับผู้นำชุมชน
และหลังจากที่ร่วมประชุมกัน ทุกคนได้เล็งเห็นว่า ควรเริ่มจากการร่วมสร้างคู่มือชมชนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังช้างป่าเพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการพูดคุยกับชุมชนให้เกิดรูปธรรม
ครั้งต่อไป จึงเสนอว่าจะมีเวทีสร้างคู่มือมาตรฐานการเฝ้าระวัง Ver.1.0 ประมาณกลางเดือนมิถุนายน