การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการช้างป่า ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืน กลุ่มป่าตะวันตกตอนล่าง
ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ ห้องประชุมเคียงธารา
ด้วยทาง สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง (Human and Elephant Voices Network) มีความประสงค์ในการขับเคลื่อนการสร้างระบบและองค์ความรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั่วประเทศ โดยดำเนินงานวิจัยและสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนและรัฐเพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบนพื้นฐานงานวิจัย และพัฒนาบน ข้อค้นพบจากงานวิจัยและสถานการณ์ พบว่าปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ อนุรักษ์กำลังขยายตัว แ ละจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของช้างป่า หากยังไม่มีระบบการบริหารจัดการช้างป่าบริเวณนอกพื้นที่อนุรักษ์ที่คู่ขนานไปกับระบบการคุ้มครองและบริหารจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย ( ZSL Thailand) และ เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างป่า และภาคประชาสังคมที่มีความสนใจการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์บทเรียนการจัดการช้างป่านอกพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นพื้นที่รองรับช้างป่าที่สำคัญของประเทศไทย และนำเสนอการ พัฒนาเครื่องมือการจัดการช้างป่าที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน เช่น นวัตกรรมการจัดการพื้นที่เชิงระบบนิเวศ นวัตกรรมการเงินเพื่อความยั่งยืนในการลดผลกระทบระหว่างคนกับช้างป่า จนได้รับทุนสนับสนุนจาก Darwin Initiative จากรัฐบาลอังกฤษ ในการขับเคลื่อน โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย
โดยโครงการฯ มีเป้าหมายหนุนเสริมเพิ่มศักยภาพองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ด้วยการประเมินศักยภาพไปพร้อมกับหนุนเสริมประสิทธิภาพกลุ่มและองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่สำคัญในประเทศไทย โดยครอบคลุมกลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ กลุ่มป่าแ ก่งกระจาน กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว และกลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด ซึ่งโครงการมีเป้าหมายที่ท้าทายในการให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และสร้างความรู้ ถอดบทเรียน และเกิดนวัตกรรมด้านการเงินเพื่อจัดการช้างป่าร่วมกันในกรอบระยะเวลา 3 ปี
การประชุมของโครงการฯ ในพื้นที่กลุ่มป่า ตะวันตกตอนล่าง ครั้งนี้จะจัด ขึ้นวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ซึ่งเป็นการรวมเครือข่ายพื้นที่อนุรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ในการจัดเวทีเชิงปฏิบัติการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรและภาคีเครือข่ายในการจัดการช้างป่า ด้วยการหนุนเสริมการสรุปบทเรียนการจัดการและการสร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดการช้างป่าจาก งานวิจัยและบทเรียนการจัดการในพื้นที่ป่าตะวันตก
2. เพื่อพัฒนารูปแบบเวทีระดับภูมิภาคให้ตอบสนองเป้าหมายของโครงการวิจัย ไปพร้อมกับช่วยพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายในการจัดการช้างป่า และหนุนเสริมวาระการจัดการช้างป่าในระดับภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพครอบคลุม การจัดการที่เป็นวาระสำคัญของพื้นที่ เช่น การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน การจัดการช้างป่าโดยท้องถิ่น และนวัตกรรมการจัดกาช้างป่าเพื่อความปลอดภัยของชุมชน
3. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การป้องกันเฝ้าระวังช้างป่าที่ปลอดภัยต่ออาสาและเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่า
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 100 ท่าน ประกอบด้วย
1. เครือข่ายอาสาสมัคร เฝ้าระวังช้างป่าชุมชน 40 เครือข่าย ในกลุ่มป่าตะวันตกตอนล่าง
2. เจ้าหน้าที่เขตอนุรักษ์ 11 พื้นที่อนุรักษ์
3. เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
4. ภาคประชาสังคมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ เกษตรยั่งยืน
5. ผู้นำชุมชน และตัวแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
6. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี
7. สถาบันการศึกษา
สถานที่ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
กำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการช้างป่า ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ อย่างยั่งยืน กลุ่มป่าตะวันตกตอนล่าง ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ ห้องประชุมเคียงธารา
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวที
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดประชุม โดย นายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนัก บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 บ้านโป่ง
09.10 – 09.20 น. กล่าวแนะนำองค์กรที่เข้าร่วมประชุม
09.20 – 09.30 น. บรรยายภาพรวมโครงการวิจัยฯ โดย คุณ May Moe Wah ผู้จัดการสมาคมสัตว์วิทยาแห่งลอนดอน ZSL (ประเทศไทย) และคุณพิเชฐ นุ่นโต เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง ภายใต้สมาคมนิเวศยั่งยืน
09.30 – 10.30 น. เสวนาบทเรียนการจัดการช้างป่ากลุ่มป่าตะวันตก หัวข้อ การจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืนในผืนป่าตะวันตก โดย คุณมานะ เพิ่มพูล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) และแนวทางการจัดการช้างป่าเชิงบูรณาการ โดย คุณปัจเดช สิงห์โท สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ZSL ประเทศไทย คุณพิเชฐ นุ่นโต เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง ภายใต้ สมาคมนิเวศยั่งยืน
10.30 – 10.45 น. พักเบรก
10.45 – 12.00 น. บรรยาย นวัตกรรมเทคโนโลยีแอปลิเคชันแอปลิเคชันเพื่อการจัดการช้างป่า เพื่อการจัดการช้างป่า โดย ดร.ธรรมศักดิ์ธรรมศักดิ์ เธียรนิเวศน์เธียรนิเวศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 – 13.30 น. การจัดการช้างป่าระดับประเทศ ตามยุทธศาสตร์แผนการจัดการช้างป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดย คุณเผด็จ ลายทองเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
13.30 – 15.00 น. แนวทางพัฒนาการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และการกระจายอำนาจการบริหารจัดการช้างป่า โดย รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, คุณคุณเผด็จ ลายทองเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จังหวัดกาญจนบุรี, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี และกรมบัญชีกลาง จังหวัดกาญจนบุรี
15.00 – 15.15 น. พักเบรก
15.15 – 16.15 น. แนวทางการจัดการวิถีเกษตรมิตรช้างป่า โดย คุณไพศาล ปานฉวี เกษตรกร วนเกษตร อินทรีย์, ผศ.พีรชัย กุลชัย ผู้ตรวจเกษตรอินทรีย์, กลุ่มเกษตรอินทรีย์และสมุนไพร จังหวัด กาญจนบุรี, คุณเชษฐ์ สิทธิพันธ์ คณะกรรมการการแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในท้องที่ จังหวัดกาญจนบุรี
16.15 – 16.30 น. สรุปเวทีประจำวัน
18.00 – 19.30 น. พบปะแลกเปลี่ยนพี่น้องอาสาช้างป่า
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ กุมภาพันธ์ 2567
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวที
09.00 – 10.30 น. ประเมินสถานการณ์ช้างป่า ผ่านกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังผ่านกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าในกลุ่มป่าช้างป่าในกลุ่มป่าตะวันตกตอนล่าง และจัดทำแผนที่เส้นทางช้างป่าพื้นที่ทำงานอาสาเฝ้าระวังช้างป่ารอบกลุ่มป่าตะวันตกตอนล่าง
10.30 – 10.45 น. พักเบรก
10.45 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนชุดประสบการณ์เฝ้าระวังเครือข่ายอาสาและเครือข่ายอาสาและเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนาชุดความรู้การเฝ้าระวังและป้องกันช้างที่ปลอดภัย
12.00 – 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 – 14.30 น. นำเสนอชุดประสบการณ์ คนช้างป่าปลอดภัย และพัฒนาการควบคุมช้างป่าตามเส้นทางร่วมกัน
14.30 – 15.30 น. การสาธิตการเฝ้าระวังช้างป่าภาคสนาม นำสาธิตโดยเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่าแลกเปลี่ยนร่วมกับอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า
15.30 – 16.00 น. นวัตกรรมโดรน (Drone) เพื่อการเพื่อการจัดการช้างป่า โดย คุณนเรศ เสือทุเรียน ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าในกลุ่มป่าแก่งกระจาน WWF ประเทศไทย
16.00 – 16.30 น. พิธีมอบเกียรติบัตร อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าเพื่อช้างเพื่อชุมชน รุ่นที่ 1
ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
Facebook: Human Elephant Voices – Home | Facebook