การประชุมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด

การประชุมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด

การประชุมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด

ด้วยทาง สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง (Human and Elephant Voices Network) มีความประสงค์ในการขับเคลื่อนการสร้างระบบและองค์ความรู้เพื่อ การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั่วประเทศ โดยดำเนิน งานวิจัยและสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนและรัฐเพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบน พื้นฐานงานวิจัยและพัฒนา บนข้อค้นพบจากงานวิจัยและสถานการณ์พบว่า ปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ กำลังขยายตัว และจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของช้างป่า หากยังไม่มี ระบบการบริหารจัดการช้างป่าบริเวณนอกพื้นที่อนุรักษ์ ที่คู่ขนานไปกับระบบการคุ้มครองและบริหารจัดการช้าง ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง และภาค ประชาสังคมที่มีความสนใจการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนา ฯ เพื่อให้เกิดการ สังเคราะห์บทเรียนการจัดการช้างป่านอกพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นพื้นที่รองรับช้างป่าที่สำคัญของประเทศไทย และ นำเสนอการพัฒนาเครื่องมือการจัดการช้างป่าที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน เช่น นวัตกรรมการจัดการพื้นที่เชิงระบบนิเวศ นวัตกรรมการเงินเพื่อความยั่งยืนในการลดผลกระทบระหว่างคนกับช้าง ป่า จนได้รับทุนสนับสนุนจาก Darwin Initiative จากรัฐบาลอังกฤษ ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนา ต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย

โดยโครงการฯ มีเป้าหมายหนุนเสริมเพิ่มศักยภาพองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างคน กับช้างป่า ด้วยการประเมินศักยภาพไปพร้อมกับหนุนเสริมประสิทธิภาพกลุ่มและองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการ แก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่สำคัญในประเทศไทย โดยครอบคลุม กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว และ กลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด ซึ่งโครงการมีเป้าหมายที่ท้าทายในการให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และ สร้างความรู้ ถอดบทเรียน และเกิดนวัตกรรมด้านการเงินเพื่อจัดการช้างป่าร่วมกันในกรอบระยะเวลา 3 ปี

การประชุมของโครงการ ฯ ในพื้นที่กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด ครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ณ เทศบาลตำบลช้างซ้าย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นการรวมเครือข่ายพื้นที่อนุรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายภาค ประชาชน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรและภาคีเครือข่ายในการจัดการช้างป่า ด้วยการหนุนเสริมการสรุปปบทเรียนการจัดการ และการสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการช้างป่าจากประสบการณ์และบทเรียนการจัดการช้างป่าในพื้นที่อาศัย สำคัญของช้างป่าในประเทศไทย

2. เพื่อพัฒนารูปแบบเวทีระดับภูมิภาคให้ตอบสนองเป้าหมายของโครงการวิจัย ไปพร้อมกับช่วยพัฒนาศักยภาพ องค์กรและเครือข่ายในการจัดการช้างป่า และหนุนเสริมวาระการจัดการช้างป่าในระดับภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม

3. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ในการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ร่วมกัน

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 60 ท่าน

สถานที่ เทศบาลตำบลช้างซ้าย อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ณ เทศบาลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวที

09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดประชุม โดย ผู้อำนวยการสำนัก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

09.10 – 09.20 น. กล่าวแนะนำองค์กรที่เข้าร่วมประชุม

09.20 – 09.30 น. บรรยายภาพรวมโครงการวิจัยฯ คุณ May Moe Wah ผู้จัดการสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ZSL (ประเทศไทย) คุณพิเชฐ นุ่นโต เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง สมาคมนิเวศยั่งยืน

09.00 – 10.45 น. สถานการณ์คนกับช้างป่า ในกลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด:ก้าวต่อไปของการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์

09.45 – 10.45 น. มองการจัดการภาพรวมอนาคตร่วมกันพื้นที่อนุรักษ์ หน่วยงาน และประชาชน บนโรดแมพการจัดการ ช้างป่า

10.45 – 12.00 น. ประเมินสถานการณ์ช้างป่าผ่านเจ้าหน้าที่ กลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าในกลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัดจัดทำแผนที่เส้นทางช้างป่า พื้นที่ทำงานอาสาเฝ้าระวังช้างป่ารอบกลุ่มป่าเขาหลวง-เขา บรรทัด

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 – 14.45 น. พัฒนาแนวทางการทำงานร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่า กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด

– นำเสนอแผนที่การกระจายช้างป่า

– แผนการจัดการกลุ่มอาสาสมัคร และแนวทางการ ทำงานร่วมระหว่างกลุ่มอาสาบนเส้นทางช้างป่าใน กลุ่มป่าเขาหลวง-เขาบรรทัด (แบ่งกลุ่มอาสาตามโซน ชุมชน เหนือ กลาง ใต้)

– เติมเต็มการมีส่วนร่วมในแผนกิจกรรมของแต่ละ หน่วยงาน

14.45 – 16.00 น. ถอดบทเรียนการเฝ้าระวังช้างป่าของอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่

* กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
Facebook: Human Elephant Voices – Home | Facebook