ค่ายเยาวชน ถอดบทเรียนอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า

ค่ายเยาวชน ถอดบทเรียนอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า
ค่ายเยาวชน ถอดบทเรียนอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า ณ โรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อความประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook page: Elephant Protection Volunteers | Facebook
มีคนเคยบอกว่า “มนุษย์เราเผชิญกับภัยและความอยู่รอดมานับครั้งไม่ถ้วนจนกลายเป็นความเคยชิน” ซึ่งมักจะเรียกสังคมที่เราอยู่ร่วมในปัจจุบันนี้ว่า “สังคมแห่งความเสี่ยง (Risk society)” ดังนั้นแนวคิดเรื่อง “การบริหารความเสี่ยง” จึงเป็นสิ่งที่สังคมปัจจุบันหันมาตระหนักกันมากขึ้นและพยายามค้นหาแนวทางในการอยู่รอดท่ามกลางภัยที่ปรากฏอยู่อย่างรายล้อม
.
การรับรู้ถึงความเสี่ยงของคนเรามักมีความแตกต่างกันออกไป
👉 ประการที่หนึ่ง ด้วยความวิตกกังวลของคนเรา ทำให้ปฏิเสธความเสี่ยงทั้งหมดออกไปจากชีวิต
👉 ประการที่สอง การรับรู้ความเสี่ยงที่มาจากอิทธิพลของความคุ้นเคย จึงรับรู้ได้ว่ามีอันตราย
👉 ประการที่สาม การรับรู้ความเสี่ยงจากความเชียวชาญ เช่น คนทั่วไปได้ยินได้ฟังและเชื่อในสิ่งที่ตนเองได้ฟังมา ซึ่งต่างจากผู้เชียวชาญที่ต้องตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดเสียก่อน
👉 ประการสุดท้าย ปิดกั้นการรับรู้ความเสี่ยง ถึงแม้จะมีประจักษ์พยานอยู่ตรงหน้าก็ตาม ก็ยังไม่ยอมรับรู้ความเสี่ยง
.
👫 อย่างไรก็ตาม ค่ายถอดบทเรียน “สถานการณ์ช้างป่าเขาอ่างฤาไน ในพื้นที่ชุมชน” เราจะมาพิจารณาสถานการณ์ช้างป่าในมิติต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อสร้างการรับรู้ความเสี่ยง อันจะนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและทั้งที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า อนึ่ง การบริหารความเสี่ยงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ต้องการยอมแพ้ เราต่อสู้กับธรรมชาติ แต่เราก็มีหลักการ และเมื่อถึงจุดที่เราเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ เราก็ต้องหยุดเพื่อทบทวน และหาแนวทางที่จะไม่ให้เกิดภัย หรือความเสี่ยงดังที่กล่าวมา
.
เนื่องจากเป็นกิจกรรมถอดบทเรียนของอาสาสมัครพิทักษ์ช้างป่า ทีมฟันน้ำนม ประจำปี 2564-2565 จึงขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า เป็นกิจกรรมภายในของกลุ่มฯ แต่เมื่อจบกิจกรรมเราจะกลับมารายงานผลของกิจกรรมให้ลูกเพจได้ทราบผ่านคลิปวิดีโอสนุก ๆ นะครับ
——————
ติดตามข่าวสารช้างป่าได้ที่ นี่