กิจกรรมพื้นที่วิจัยเขาใหญ่: เดือนสิงหาคม 2563

กิจกรรมพื้นที่วิจัยเขาใหญ่: เดือนสิงหาคม 2563

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างเขาใหญ่ได้ประชุมพูดคุยกับตัวแทนชุมชนที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่าของหมู่บ้านคลองทราย ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา นำกระบวนการพูดคุยโดยทีมกลางโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าฯ และศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอยุธยา  โดยในการพูดคุย ชุมชนได้เล่าประสบการณ์การเฝ้าระวังสัตว์ป่าออกมาในพื้นที่การเกษตรของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเห็นปัญหาว่าที่ผ่านมา พืชเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการเข้ามาของช้างป่ากับกระทิง  ชุมชนได้พยายามปรับตัว แต่เบื้องต้นต้องป้องกันพืชผลการเกษตร ซึ่งมีเพียงอาสาที่ทำหน้าที่บริเวณแนวกันชนช้างป่าเท่านั้นที่สละเวลาและเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้ช้างป่าเข้าในชุมชน  ทางที่ประชุมจึงเสนอว่า ควรจัดการพูดคุยเพื่อสร้างการรับรู้สถานการณ์และสำนึกร่วมกันว่า “ปัญหาเรื่องช้างเป็นประเด็นร่วมกันของชุมชนที่ชุมชนในแนวหลังต้องเข้ามามีส่วนร่วม” อย่างน้อยที่สุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหรือสร้างการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างสันติในระยะยาว ทางทีมวิจัยฯ จึงกำหนดวันเพื่อคุยกับชุมชนทั้งหมู่บ้านโดยวางแผนใช้การสร้างแผนที่ชุมชนเพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนและรับรู้ร่วมกัน โดยจะเชิญชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพูดคุย

On July 26, 2020.

Khao Yai Community-based research team with Thailand Human-Elephant Coexistence Project and Ayutthaya Community-based Research Coordinator have arranged the meeting with villagers at Khlong Sai village, Wang Mhee Sub-district, Wang Nham Khiao District, Nakhon Ratchasima Province.  Villagers have told the history of their agriculture and and experiences in crop-protection strategies against elephants and gaurs. Villager also suggested that monoculture, corn, could be the cause of elephant and gaur crop-raiding behavior. Crop-owners have tried to defend their crops against the wildlife with some village volunteers patrolling along the village-national park boundary. However, only the handful of people could not solve the problem effectively. Thereby, the meeting have concluded that the crop-raiding problem need at least the participation from other villagers that can supports in any forms. The research team have also picked the date for the next meeting that aim for raising problem awareness of other villagers through community-map and participating activity.