กิจกรรมร่วมจากพื้นที่วิจัยเขาใหญ่และภูหลวง
Khao Yai-Phu Luang joint activity, for English version please read below.
ทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างพื้นที่เขาใหญ่ (วังน้ำเขียว) ไปดูงานพื้นที่วิจัยภูหลวงที่ทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างภูหลวงร่วมกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง (FB: เรียนรู้อยู่ร่วมช้างป่า) กำลังจัดการเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับช้างป่า ในช่วงวันที่ 15 สิงหาคม 2563 โดยกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นระหว่างพื้นที่นั้นได้แก่ กิจกรรมเติมโป่ง ปลูกมะม่วงป่าและกะบกเพื่อดึงดูดช้างป่า เรียนรู้การจัดการรั้วรังผึ้ง และจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มวิจัยภูหลวงและวังน้ำเขียว
ทั้งนี้ นายกังวาฬ ศรีสวาท จากทีมวิจัยท้องถิ่นเขาใหญ่ได้สรุปการไปศึกษาดูงาน ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ดังนี้
- ได้เห็นถึงสภาพพื้นที่จริงของจังหวัดเลยที่ได้รับผลกระทบจากน้องช้างที่ทางกลุ่มผลักดันช้างบ้านคลองทราย อำเภอวังน้ำเขียว ได้ประสบปัญหาซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศเหมือนกัน
- ได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน ของทางกลุ่มเฝ้าระวังน้องช้าง หัวหน้าหน่วยงาน นายอำเภอ และจิตอาสา ชาวบ้านทุกท่าน รวมถึงกลุ่มออฟโรด โดยร่วมกันทำกิจกรรม เช่น การทำโป่งให้น้องช้าง การปลูกป่า (มะม่วงป่า) ฯลฯ
- ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องน้องช้าง วิธีการบล็อกและการผลักดันน้องช้างให้ถูกวิธีและปลอดภัย ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์
- ได้เรียนรู้ศึกษาการปลูกพืชประเภทผักหวานที่สามารถนำมาเป็นรายได้ ให้กับชุมชนได้ และได้เรียนรู้การเลี้ยงผึ้ง เพื่อเป็นอาชีพเสริม และเพื่อป้องกันน้องช้างไปในตัวด้วย
- ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอของหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้องช้าง ได้เห็นถึงความร่วมมือกันของช้าวบ้าน ความสมัครสมานสามัคคีจนประสบความสำเร็จ
- ได้พบปะพูดคุยและหาวิธีการแก้ไขให้ตรงจุดที่เกิดขึ้น
- ได้รู้จักกลุ่มจิตอาสาที่ทำงานคล้ายกันที่มีจุดประสงค์เดี๋ยวกัน คือผลักดันสัตว์ (น้องช้าง)
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รู้เขา รู้เรา เพื่อพัฒนาให้ต่อยอดให้ประสบผลสำเร็จในอนาคต
- สุดท้ายได้มิตรภาพระหว่างคนไทยด้วยกันที่มีจิตอาสาเหมือนกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน
Khao Yai Community-based Research Team (KYCBR) from Wang Nak Khiao District has set field excursion with Phu Luang Community-based Research Team (PLCBR) and Phu Luang Wildlife Research Station (FB: เรียนรู้อยู่ร่วมช้างป่า) on August 15, 2020 at Phu Luang Sanctuary in Phu Luang District, Loei Province. The aim of this activity was to share and learn knowledge of human-elephant coexistence management between two research teams. In addition, beehive fence, saltlick improvement and planting the wild mangoes and wild almond were done for co-activities in that meeting.
Mr. Kangvarn Srisawad from KYCBR has reported the summary of Khao Yai-Phu Luang joint activity and field excursion as followed:
- KYCBR has learnt that Phu Luang also has the human-elephant conflict similar to Wang Nam Khiao in term of climate and landscape
- Saltlick and habitat improvement were done to connect various stakeholders in the areas. This also included NGOs, Off-road travelers, provincial administrators and local villagers.
- All teams have shared the standard protocols for safe elephant-repelling knowledge and how to coexist between human and wildlife.
- KYCBR has learnt how to use and improve the local plant and apiculture for sustainable human-elephant management.
- KYCBR has learnt the importance of the co-management among various stakeholders in the area for successful co-existence management.
- Meaningful meeting will create the meaningful management.
- Getting to know other volunteers in human-wildlife coexistence management.
- Knowledge sharing between teams can input for better management.
- KYCBR has learnt the friendship for the same aim in creating the peaceful coexistence between human and elephant.
หากท่านสนใจกิจกรรมจากพื้นที่วิจัยอื่น ๆ สามารถอ่านได้จาก ที่นี่
If you are interested in activities from other study sites, please click here.