วันที่ 23 สิงหาคม 63 ทีมวิจัยท้องถิ่นกุยบุรี ได้จัดประชุมทำความเข้าใจและเรียนรู้กระบวนการสร้างสร้างปฎิสัมพันธ์เชิงบวกในทีมวิจัยและหน่วยงานในพื้นที่ โดยมีหน่วยงานอุทยานแห่งชาติกุยบุรี นำโดยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและเจ้าหน้าที่ หัวหน้าชุดเฝ้าระวังป่ากุยบุรีที่ปฎิบัติงานในเวลากลางคืนเพื่อผลักดันช้างป่ากลับเข้าพื้นที่ป่า ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF (ประเทศไทย) ชุดประสานงานโครงการพระราชดำริ ทีมวิจัยกุยบุรี ชาวบ้านในแนวพื้นที่อ่างหินบ้านรวมไทยที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้มีการพูดคุยและนำเสนองานวิจัยที่ของทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นกุยบุรีที่ดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ และอยากให้มีการประสานการทำงานร่วมกัน และร่วมกันวางระบบการผลักดันช้างป่าเข้าพื้นที่ป่า ซึ่งระหว่างชาวบ้านที่เฝ้าไร่และเจ้าหน้าที่ยังไม่เคยมีการพูดคุยกันอย่างเป็นทางการมาก่อน
ทางทีมวิจัยจึงได้จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนในเบื้องต้นว่า ตอนนี้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต้องการอะไร ซึ่งชาวบ้านอยากให้เจ้าหน้าที่ชุดผลักดันช้าง เมื่อผลักดันช้างแล้ว ไม่ทิ้งช้างไว้ระหว่างทางในไร่ของชุมชน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่อุทยานฯได้อธิบายถึงรูปแบบการทำงาน การผลักดันช้างป่าว่ามีชุดผลักดัน 4 คนต่อทีม และต้องคอยเฝ้าในพื้นที่กว้าง ซึ่งเป็นข้อจำกัด ในเบื้องต้นชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ได้รับรู้ความต้องการ รูปแบบข้อมูลการเฝ้าระวังชายขอบป่าซึ่งกันและกัน และข้อจำกัดที่ต้องหาทางออกร่วมกันต่อไป
ในเบื้องต้นมีการพูดระหว่างเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีมวิจัย ชาวบ้านบริเวณบ้านรวมไทย-อ่างหิน ได้ข้อตกลงวางแผนและระบบการเฝ้าระวังช้างป่าเข้าพื้นที่การเกษตรร่วมกัน โดยใช้อุปกรณ์สื่อสารและสำรวจข้อมูลช้างป่าเพื่อมาพูดคุยกันในครั้งต่อไป วางแผนการเฝ้าระวังร่วมระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ในการประชุมร่วมกันครั้งต่อไปจำข้อมูลของแต่ละภาคส่วนมาหาข้อสรุปการเฝ้าระวังร่วม โดยเตรียมข้อมูลของแต่ละภาคส่วนมาคุยกันต่อไปดังนี้
- ข้อมูลของชาวบ้านที่เฝ้าพื้นที่ไร่/สวน ของตัวเอง พร้อมพิกัด ชื่อ เบอร์โทร อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่/คนอื่นที่ให้ความช่วยเหลือ
- แผนที่ของแปลงไร่ และพืชที่ปลูกในช่วงนี้ (เพื่อวางแผนการเฝ้าระวัง)
- ทางเจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือทุกอย่างและมีการประเมินทุกเดือนเพื่อทำงานร่วมกัน
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF (ประเทศไทย) ชุดประสานงานโครงการพระราชดำริและทีมวิจัยมีความเห็นเรื่องให้มีการฝึกอบรมการผลักดันช้างป่าให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยาน
Kui Buri September 2020 Activity update
On August 23, 2020,
Kui Buri Community-based Research Team (KBCBR) has arranged a meeting for creating positive interaction among local organizations. Participants were Head of Kui Buri National Park and rangers, elephant night-patrolling rangers, director of WWF wildlife conservation project (Thailand), coordinating team from Kui Buri Royal Project, villagers from Ang Hin and Ban Ruam Thai villages who received damage from wild elephants. The objectives of the meeting were to present the ongoing KBCBR project, create the participation and set the co-management plan among villagers and local organizations. This formal meeting has never been done before until this time.
In the meeting, KBCBR has reported to the meeting that patrolling rangers should push the elephant back to the forest, not stop at the villagers’ farm. Then, national park rangers have elaborated about the elephant-repelling plan that there must be four rangers per team within quite a large area. Consequently, the limitation is that there is not enough manpower. Thereby, this meeting has already set the baseline for management plans among villagers and organizations by setting the agreement for a wild elephant surveillance system for crop protection with the radiocommunication.
As for the next meeting, participants have been assigned to preparing the following data:
- Contact and agricultural information of villagers and patrolling rangers
- Farm mapping and current crops
- Information of the crop protection and the standard of elephant repelling system.