กิจกรรมพื้นที่วิจัยใต้ร่มเย็น มิถุนายน 2563

กิจกรรมพื้นที่วิจัยใต้ร่มเย็น มิถุนายน 2563

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ทีมวิจัยพัฒนาระบบการผลักดันช้างป่าใต้ร่มเย็น ได้ร่วมกันวางแผนการทำงานระยะต่อไป (มิ.ย – ก.ย 2563) ซึ่งจะเป็นการร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงานของทีมวิจัยฯ ในทุกมิติ ตั้งแต่การวางปฏิทินการทำงาน การกำหนดบุคคลในแต่ละงาน และการบริหารจัดการงบประมาณ โดยมีนายนพดล ประยงค์ หัวหน้าโครงการ ทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบของโครงการฯ

ข้อสรุปของทีมวิจัยฯ มีดังนี้

1. ในระยะต่อไป ทีมวิจัยฯ จะมีการเก็บข้อมูลช้างป่าอย่างเข้มข้น สัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน โดยจะมีทีมเก็บข้อมูล 3 คน สลับสับเปลี่ยนกันไปเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจงานเก็บข้อมูลได้ทุกคน ข้อมูลที่เก็บนั้นจะครอบคลุมตำแหน่งที่ช้างอยู่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงพูดคุยกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

2. จัดเวทีขนาดเล็กที่แสวงหาการมีส่วนร่วมในการทำวิจัยกับหมู่บ้านอื่น ๆ โดยจะเริ่มต้นจากหมู่บ้านที่คิดว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดก่อน โดยในการทำเวที จะกำหนดบทบาทให้ทีมวิจัยได้มีส่วนร่วมในการจัดเวทีมากขึ้น

3. จัดเวทีที่ใช้ในการกำหนดเกณฑ์พื้นที่เหมาะสมของช้างป่า และใช้ในการสำรวจพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะใช้ในการจัดการพื้นที่ให้ช้างป่า รวมทั้งใช้ในการกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการเป็นพื้นที่เป้าหมายในการผลักดันช้างไป

4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใหม่ที่ ต.เขาน้อย อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โดยทีมวิจัยฯ จะไปจัดเวทีให้ และแสวงหาแนวร่วมในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังช้างป่า

5. การทดลองผลักดันแบบกำหนดทิศทางช้างโดยใช้แสงสว่างยังคงทำต่อไปให้ครบ 20 ครั้ง โดยเมื่อครบ 10 ครั้ง จะจัดเวทีนักวิจัยเพื่อมาสรุปผลงานที่ผ่านมาร่วมกัน