กิจกรรมพื้นที่วิจัยใต้ร่มเย็น เดือนกรกฎาคม 2563
For English version, please read below
การพูดคุยเพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ในการขยายเครือข่ายงานวิจัยระบบเฝ้าระวังช้างป่าฯ
หลังจากทีมวิจัยพัฒนาระบบผลักดันช้างป่าด้วยแสงสว่างที่จัดตั้งนำร่องในหมู่ 2 ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้ดำเนินการทดลองใช้แสงสว่างในการผลักดันช้างป่าและได้ผลการทดลองที่น่าพอใจระดับหนึ่งแล้ว ทีมวิจัยฯ ดังกล่าวจึงได้เริ่มเข้าไปพูดคุยกับชุมชนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแสวงหาความเป็นไปได้ในการขยายแนวร่วมงานวิจัยเมื่อวันที่ 23 และวันที่ 27 มิถุนายน 2563 โดยได้เริ่มเข้าพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้นำหมู่ 12 ตำบลช้างซ้าย และ หมู่ 3 ตำบลป่าร่อน อำเภอกาญจนดิษฐ์ ตามลำดับ
การพูดคุยนั้นมุ่งเน้นถึงแนวคิดการสร้างระบบเฝ้าระวังป้องกันโดยใช้พื้นฐานของการทำงานวิจัยโดยท้องถิ่นที่ทางทีมวิจัยฯ หมู่ 2 ตำบลคลองสระ ได้เริ่มนำร่องทำไปแล้วกับทาง สกสว. ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่ที่ได้ไปพบปะพูดคุยต่างก็รู้สึกยอมรับกับการทำงานที่ผ่านมาของทีมวิจัยฯ แต่ก็ยังเป็นห่วงถึงศักยภาพของชุมชนตนเองว่าจะทำได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 พื้นที่จะนำแนวคิดที่พูดคุยกันไปปรึกษาหารือกันภายในชุมชนตนเองก่อน หลังจากนั้น อาจจะขอให้ทีมวิจัยฯ มาสร้างเวทีที่เป็นเวทีเล็กๆ ในชุมชนหมู่บ้านของตน เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงแนวปฏิบัติการร่วมกันอีกครั้ง
Tai Rom Yen Community-based Research Team’s July Updates
Tai Rom Yen Community-based Research Team has tested the spotlight for crop protection in Village number 2, Khlong Sra Sub-district, Kanchanadith District in June 2020. The result was satisfied. Later, they have arranged two meetings with nearby villages for finding participation in human-elephant conflict mitigation by using spotlight.
Two village chiefs (village number 12, Chang Sai Sub-district and village number 3, Pa Rhon Sub-district, Kanchanadith District) have agreed that they will adopt spotlight technique for crop-protection. However, they also questioned their potential in using this techniques. Thereby, two villages will discuss for the possibility by themselves first and then, they will arrange meeting with our research team for further management and direction.