งานสร้างเวทีเพื่อนำผลการวิจัยนำร่องไปขยายเครือข่ายในพื้นที่อื่น ๆ
วันที่ 15 สิงหาคม 2563 ทีมวิจัยท้องถิ่นกาญจนดิษฐ์ได้สร้างเวทีท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางลดผลกระทบจากช้างป่าขึ้น ณ ศาลา ม. 1 ต. คลองสระ อ. กาญจนดิษฐ์ จ. สุราษฏร์ธานี มีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวทีประมาณ 50 คน โดยมีจุดประสงค์คือ
1. เพื่อให้ท้องถิ่นได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสถานการณ์ของช้างป่าในครึ่งปีแรกของปี 2563 นี้
2. เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่นได้นำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยให้ชุมชนรับทราบ
3.แสวงหาความเป็นไปได้ในการขยายเครือข่ายการผลักดันช้างป่าแบบกำหนดทิศทางด้วยแสงสว่างไปยังพื้นที่อื่น ๆ
ทางปลัดอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้ร่วมแสดงความเห็นว่าทีมวิจัยท้องถิ่นนั้นเข้มแข็งมาก น่าจะช่วยในการขยายกระบวนการที่ทำอยู่ให้พื้นที่อื่น ๆ ด้วย ประกอบกับในเวทีนี้ ทาง หมู่ 4 ต. ป่าร่อน ได้สนใจที่จะสร้างกระบวนการเหมือนกับทีมวิจัยนำร่อง จึงได้นัดเวทีต่อเนื่องเพื่อสร้างกระบวนการในวันที่ 22 สิงหาคม 2563 (ในที่ประชุมด่วนวันที่ 21 สิงหาคม 2563 นายอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้ย้ำให้ทุกหมู่บ้านมีระบบเฝ้าระวังที่มีมาตรฐานโดยขอให้ทีมวิจัยระบบผลักดันช้างป่าด้วยไฟส่องสว่างได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงกับชุมชนอื่น ๆ ด้วย)
วันที่ 22 สิงหาคม 2563 ทีมวิจัยท้องถิ่นกาญจนดิษฐ์เกิดเวทีเพื่อสร้างทีมเฝ้าระวังช้างป่าใน ต. ป่าร่อน โดยมีทีมวิจัยระบบผลักดันฯ ช่วยกำหนดแนวทางในการสร้างทีม ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าการสร้างข้อมูลช้างป่านั้นจำเป็นที่สุดเพื่อใช้ในการวางแผนการกำหนดทิศทางช้าง โดยในวันนี้ ทีมวิจัยระบบผลักดันตำบลป่าร่อนจึงได้เริ่มก่อตัวขึ้น มีการกำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลช้างป่าให้ชุมชน และกำหนดผู้เข้ามาร่วมในทีมผลักดันฯ โดยได้ตกลงกันว่า ทีมวิจัยระบบผลักดันฯ ตำบลคลองสระที่ผ่านการทดลองมาก่อนแล้ว จะปรับบทบาทมาเป็นพี่เลี้ยงในการสร้างมาตรฐานการผลักดันช้างแบบสันติให้ทีมตำบลป่าร่อน
ผลที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการวิจัยทดลองนำร่องที่สามารถนำผลงานวิจัยไปขยายผลในการสร้างระบบเฝ้าระวังต่อเนื่องในพื้นที่อื่น ๆ นอกจากนั้น ทีมวิจัยท้องถิ่นยังต้องปรับบทบาทจากทีมทดลองสู่การนำประสบการณ์ไปใช้ในการเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
On August 15, 2020
Kanchanadith Community-based Research Team (KCRT) has arranged the meeting for reducing impacts from elephant at Mhoo 1, Khlong Sra Sub-district, Kanchanadith District, Surat Thani Province. There were approximately 50 participants in this meeting. The meeting has set for 3 goals which are:
- to let community to explain and elaborate about elephant situation in their area for first half of year 2020
- to progress the project activity to community
- to plan the standard for mentoring other villages about repelling elephant by spotlight
In addition, administrative assistant of Kanchanadith District also suggested KCRT is very strong together, they should share their experience to newly impact-received villages. Thereby, the meeting has also arranged the next meeting for elephant impact mitigation management at Pa Ron Sub-district on August 22. Administer prefect has also emphasized on the standard of elephant repelling by suggesting that KCRT should be the mentor of every villages that were impacted by elephants.
On August 22, 2020
KCRT has arranged the meeting for setting up the Pa Ron Elephant Repelling Team (PRERT) by using spotlight. KCRT emphasized not only the elephant-repelling standard that has to be used, they also emphasized on that all actions and decisions must be made on data. As a result, PRERT has set up already and Khlong Sra Elephant Repelling Team (KSERT) will be act as mentor for this team.
In summary, this result really gives importance on the pilot research that can be expanded from one to other communities. Moreover, the community-based research team also have to change their roles from researchers to mentor instead.