วันที่ 13 สิงหาคม 2563
นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพื้นที่ทองผาภูมิและศูนย์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมิตรช้างป่าห้วยเขย่งได้จัดประชุมกลุ่มสมาชิกเพื่ออบรมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชที่ช้างป่าไม่กิน จากผลสำรวจของงานวิจัย โดยประกอบด้วยการอบรม 4 หัวข้อประกอบด้วย 1. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันให้เป็นแคปซูลขมิ้นชัน 2. การแพ็คเมล็ดพริกไทยดำส่งตลาดเพื่อการซื้อขาย 3. การคัดเมล็ดกาแฟ 4. การวางแผนการเพาะพันธุ์พืชที่ไม่เป็นอาหารช้าง 4 ชนิด ได้แก่ พริกไทย กาแฟ ดีปลี และฟ้าทะลายโจร และ 5. การวางแผนที่ทำแปลงเพาะชำเพื่อแบ่งให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่านำไปปลูกในพื้นที่ โดยมีนายประชา บ๊อบหนุก กับนางสาวปิตุกาญจน์ นุชสวาท เป็นผู้อบรม และนายปราโมทย์ ศรีใยจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเป็นผู้ดำเนินกระบวนการด้วย มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 12 คน
On August 13, 2020.
Thong Pha Phum Community-based Research Team has arranged workshop for product-packaging and alternative crop planning at Huai Khayeng Community Enterprise in Kanchanaburi Province. The product-packaging workshop included the turmeric capsuling process, black pepper packaging and green coffee bean sorting. The alternative crop planning was aimed to reduce the impact from crop-raiding elephants. Villagers have selected 4 crops including: pepper, coffee, long pepper and Andrographis paniculata (fha-talai-joan) as the selected alternative crops. The process of workshop was run by Pacha Bobnuk, Pitukarn Nuchsawart and Pramote Sriyai.
วันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2563 นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพื้นที่ทองผาภูมิได้สำรวจและบันทึกพิกัดพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้สำหรับปลูกพืชที่ช้างไม่กินในบริเวณห้วยพลู นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยเรื่องการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่ช้างไม่กินเพื่อส่งเสริมให้เกิดทางเลือกในอาชีพของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้แก่ พริกไท สะตอ ดีปลี กาแฟ และพืชสมุนไพรจากชาวบ้านที่ร่วมโครงการทั้งหมด 4 หมู่บ้าน และทำการตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกของพืชดังกล่าวในทุกสวนและไร่ของชุมชนอีกด้วย
On August 18-20, 2020.
Thong Pha Phum Community Research Team has set up the meeting for alternative crop planning for reduce the impact from crop-raiding elephants in 4 villages of Huai Khayeng Settlement, Kanchanaburi. Selected alternative crops have changed to pepper, bitter bean, long pepper, coffee and medicinal plants e.g. Andrographis paniculata (fha-talai-joan). Research team has pinpointed and recorded locations for alternative crop cultivation for each villagers who willing to participate in the project and also the seedling nursery.