คาราวาน คน ช้างป่า และกาแฟ : การประชุมพัฒนาแนวทางการปรับตัวด้วยระบบกาแฟวนเกษตร เพื่อแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า และพัฒนาธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
การประชุมเชิงปฏิบัติการองค์กรและเครือข่าย โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย และโครงการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐานในพื้นที่ป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี
ระหว่างวันที่ 2-7 พฤศจิกายน 2566 จังหวัดกาญจนบุรี
ความเป็นมา
สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้างป่า และภาคประชาสังคมที่มีความสนใจการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนา ฯ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์บทเรียนการจัดการช้างป่านอกพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นพื้นที่รองรับช้างป่าที่สำคัญของประเทศไทย และนำเสนอการพัฒนาเครื่องมือการจัดการช้างป่าที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน ได้แก่ นวัตกรรมการปรับเปลี่ยนกาแฟวนเกษตรเพื่อการอยู่ร่วมกับช้างป่า นวัตกรรมการเงินและคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นกลไกการเงินยั่งยืนส่งเสริมการอยู่ร่วมระหว่างคนกับช้างป่า และการศึกษาพัฒนาต้นแบบธุรกิจชุมชนเพื่อระดมทุนส่งเสริมธุรกิจการอยู่ร่วมระหว่างคนกับช้างป่า โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Darwin Initiative จากรัฐบาลอังกฤษ และ Nature-based Solutions Accelerator กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศอังกฤษ ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย และโครงการการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐานในพื้นที่ป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี โดยจะมีเวทีชี้แจงโครงการวิจัย และร่วมออกแบบการวิจัยและเก็บข้อมูลร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนผู้สนใจปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรที่เป็นมิตรกับช้างป่าในระบบกาแฟวนเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย และโครงการการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐานในพื้นที่ป่าตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี
2. ร่วมออกแบบการวิจัยและพัฒนาระบบกาแฟวนเกษตร และเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้สนใจปรับเปลี่ยนพืช กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า เพื่อพัฒนาแปลงต้นแบบกาแฟวนเกษตรที่เป็นมิตรกับช้างและสัตว์ป่า ธุรกิจชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาคณะทำงานพัฒนากาแฟวนเกษตร ตลาดกาแฟ ตลาดสินค้าจากพืชที่เป็นมิตรกับช้างป่า และการขายคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบกาแฟวนเกษตร
1. องค์กรดำเนินการหลัก
สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย
เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง (Human and Elephant Voices Network) ภายใต้ สมาคมนิเวศยั่งยืน (Ecoexist Society)
2. ภาคีเครือข่ายองค์กรสนับสนุนในพื้นที่
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่าและช้างบ้านในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี (คณะทำงานนวัตกรรม)
กำหนดการ
กำหนดการ คาราวาน คน ช้างป่า และกาแฟ: การประชุมพัฒนาแนวทางการปรับตัวด้วยระบบกาแฟวนเกษตร เพื่อแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า และพัฒนาธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
วันพฤหัสที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ สำนักงานสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี
09.00–09.10 น.
แนะนำผู้เข้าร่วมประชุม
09.10-10.00 น.
บรรยายภาพรวมโครงการวิจัยและพัฒนา
(1) ทบทวนเป้าหมายโครงการ
(2) ห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาระบบธุรกิจกาแฟวนเกษตร
(3) แนวทางวนเกษตรเพื่อคนเพื่อช้าง
ถาม-ตอบแนวทางการวิจัยและพัฒนา
10.00-12.00 น.
แบ่งกลุ่มระดมสมอง พัฒนารูปแบบที่เหมาะสม
(1) ชนิดพืชที่เหมาะสมในแปลงกาแฟวนเกษตร (Species profile)
(2) ห่วงโซ่คุณค่ากาแฟวนเกษตร (Coffee-Agroforestry Value Chain)
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
เติมเต็ม Roadmap กาแฟวนเกษตร จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ
– หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เติมเต็มตามบทบาท Functions
– ข้อมูลที่ต้องการ
– กิจกรรมที่เติมในโครงการฯ
– กลไกการประสานงานในพื้นที่
วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 อำเภอเมืองกาญจนบุรี
09.00–09.30 น.
เดินทางสู่หมู่บ้านแก่งปลากด ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
09.00–10.30 น.
พูดคุยกับชุมชนบ้านแก่งปลากด
10.30-11.30 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร
11.30–12.00 น.
เดินทางสู่หมู่บ้านท่ามะนาว อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
พูดคุยกับชุมชนบ้านท่ามะนาว
14.30-15.30 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร
15.30-16.30 น.
สำรวจรอบพื้นที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารอบพื้นที่ชุมชน
วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
09.00–13.00 น.
เดินทางไปเกริงกระเวีย
13.00-14.30 น.
ทบทวนความเข้าใจโครงการกับกลุ่มกาแฟทองผาภูมิ โรงคั่วกาแฟทองผาภูมิ
14.30-15.30 น.
เดินทางไปหมู่บ้านห้วยเสือ อ.ทองผาภูมิ พูดคุยกับชุมชนหมู่บ้านชะอี้ และหมู่บ้านห้วยเสือ ณ ศาลากลางหมู่บ้านห้วยเสือ
15.30-17.00 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร แปลงเชิงเดี่ยว แปลงวนเกษตร
17.00-18.00 น.
พูดคุยกับชุมชนบ้านชะอี้และห้วยเสือ ณ ศาลากลางหมู่บ้านห้วยเสือ
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ตำบลชะแลและตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
09.00–12.00 น.
พูดคุยแนะนำโครงการกับชุมชนบ้านภูเตย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ ณ หอประชุมหมู่บ้านภูเตย
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร
14.30-15.30 น.
เดินทางไปหมู่บ้านสะพานลาว อ.ทองผาภูมิ
15.30-16.30 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร
17.00-18.00 น.
พูดคุยกับชุมชนบ้านสะพานลาว ต.สหกรณ์นิคม อ.ทองผาภูมิ ณ ศูนย์การเรียนรู้พอเพียงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ไร่ทรัพย์แสนสุข
18.00-19.00 น.
รับประทานอาหาร พร้อมกับการพูดคุยแลกเปลี่ยนบ้านสะพานลาว
วันจันทร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ตำบลสหกรณ์นิคมและตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
09.00–10.00 น.
เดินทางไปเทศบาลสหกรณ์นิคม
10.30–12.00 น.
พูดคุยแนะนำโครงการกับพื้นที่เทศบาลสหกรณ์นิคม อ.ทองผาภูมิ
12.00-13.00 น.
รับประทานอาหาร
13.00-14.00 น.
เดินทางไปหมู่ 3 ปรังกาสี ตำบลท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ
14.30-16.00 น.
เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมสู่การปรับเปลี่ยนสู่ระบบวนเกษตร
16.00-17.30 น.
พูดคุยแนะนำโครงการกับชุมชนบ้านปรังกาสี และชุมชนบ้านหม่องกะลาตำบลท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ ณ ศาลากลางประชาคมหมู่บ้านปรังกาสี
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2556 ตำบลห้วยเขย่ง และตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
08.00–09.00 น.
เดินทางไปร้านกาแฟช้างป่า
09.00–11.00 น.
สรุปปิด คาราวาน “คน ช้างป่า กาแฟ” ณ ร้านกาแฟช้างป่า ริมเขื่อนวชิราลงกรณ์
ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
Facebook: Human Elephant Voices – Home | Facebook