กิจกรรมพื้นที่สลักพระ ตุลาคม 2563: การทดลองสปอตไลต์ป้องกันช้างป่า Salakpra Community-based Research Updates, October 2020: Spotlight for Repelling Elephant Summary
เมื่อวันอังคารที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมาได้มีการประชุมวิเคราะห์ผลการทดลอง วิธีป้องกันและลดผลกระทบจากช้างป่า ด้วยการใช้ไฟสปอตไลต์ สัญญาณเตือน และวิทยุสื่อสารที่บ้านโป่งหวาย (แม่ปลาสร้อย) และบ้านปากนาสวน โดยทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นฯ มีความเห็นว่า การติดไฟสปอตไลต์ส่องสว่างทำให้มองเห็นช้างได้ในระยะไกล เพิ่มความปลอดภัยในการเฝ้าระวังช้าง และสัญญาณเสียงช่วยเตือนให้รู้ว่ามีช้างเข้ามา วิทยุสื่อสารใช้ส่งข่าวกัน
หลังการติดตั้งทดลองสปอตไลต์ พบว่าช้างจะหลบไปใช้ช่องทางที่ไม่มีไฟ และช้างใช้เวลาปรับตัวประมาณสองเดือนก่อนจะกลับมาเป็นปกติ ในขณะที่ช้างจำนวนหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายไปทางเหนือ เช่น ทางบ้านดงเสลาและยังไม่กลับมา แต่ก็มีช้างป่าอยู่สามตัวที่ยังหากินอยู่ประจำ ไม่เคลื่อนย้ายไปที่อื่น และจะวนเวียนเข้าออกระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตามต้องรอดูว่าเมื่อเริ่มมีผลผลิตในไร่ ช้างจะกลับมาอีกหรือไม่
ส่วนความเห็นของกลุ่มผู้ใช้สปอตไลต์นั้นรายงานว่า การใช้ไฟสปอตไลต์ สัญญาณเสียง และวิทยุสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยคนร่วมด้วย
ช่วงเวลาการเพาะปลูกของชุมชน ชาวบ้านเริ่มเพาะปลูกในเดือนกรกฎาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่กันยายนถึงเดือนมกราคม ขึ้นอยู่กับชนิดพืช
นอกจากนี้ ชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพืชไร่ควบคู่ไปกับการใช้ไฟสปอตไลต์ส่องสว่าง โดยหลังจากศึกษาดูงานภายในกิจกรรมของโครงการวิจัยฯ ชาวบ้านมีความมั่นใจมากขึ้นในเรื่องตลาดของพืชที่ช้างไม่กิน เช่น มะเขือพวง มะนาว มะกรูด และต้นเพกา ชาวบ้านบ้านโป่งหวายจำนวน 8 ครัวเรือน และบ้านปากนาสวนจำนวน 9 ครัวเรือน ได้ลงมือปลูกพืชทางเลือกเป็นโครงการนำร่องด้วยตนเอง โดยหวังว่าจะขยายผลต่อไป หากประสบผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านมองว่า รั้วกึ่งถาวรที่สร้างระหว่างชายขอบป่าและพื้นที่เกษตรของบ้านปากนาสวนนั้น จะช่วยป้องกันได้ดีในระยะยาวโดยชาวบ้านจะไม่เหนื่อยล้าเกินไปจากการเฝ้าระวังช้างป่า
Salakpra Community-based Research Updates, October 2020: Spotlight for Repelling Elephant Summary
On September 22, 2020. Ban Pong Wai (BPW) and Ban Pak Na Suan (PNS) Community-based Research Team have arranged the meeting for summarizing the result of using spotlight, early warning system and radiocommunication for repelling the elephant. Both research teams suggested that spotlight help them to detect elephants from far distance along with the early warning system that helps the crop owner know that there are elephants intruded into their areas. Moreover, using the radiocommunication helped for better cooperation in repelling the elephants.
After the first use of spotlight, the elephants have disappeared for two months. However, some of them found other routes for raiding crops while another three stayed between the agricultural and Salakpra Wildlife Sanctuary areas. Until the harvesting time, the result of spotlight and another implementation for repelling elephants will be assessed again.
In addition to using the spotlight that has made villagers more confident in repelling elephants, eight and nine villagers from BPW and PNS, respectively, also started to change their crops from elephant directly consuming crops to alternative crops that the elephants did not eat. The alternative crop examples are lime, broken bones tree, eggplant and bergamot. However, the result of this implementation must be assessed again at the end of the harvest time. Yet, villagers also suggested that semi-permanent fences between the agricultural and protected area boundary will help reduce the villagers’ stress from crop protection.