Root Cause of HEC หรือ รากสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า
ภาพวาด โดย ภควัต ทวีปวรเดช เนื้อหาโดย บุตดา โชติมานวิจิต และพิเชฐ นุ่นโต
ช้างเอเชีย (Asian elephant, Elephas maximus) ถูกจัดอยู่ในสถานะ “ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered)” ตามบัญชีแดงจัดระดับการอนุรักษ์พืชและสัตว์ป่าสากล (IUCN Red List) ส่วนสถานะการอนุรักษ์ของช้างป่าในประเทศไทยนั้น ช้างป่าถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “สัตว์ป่าคุ้มครอง” ตามกฎกระทรวง กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 แม้ว่าจากข้อมูลการประมาณจำนวนของช้างป่าในประเทศจะอยู่ที่ 3,000-3,500 ตัว แต่ช้างเหล่านี้ก็ยังคงพบกับภัยคุกคามจากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียและตัดขาดของพื้นที่อยู่อาศัย (Habitat loss and fragmentation) การล่า (Poaching) และปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า (Human-Elephant Conflict, HEC) ทางเครือข่ายเสียงคนเสียงช้างป่าจึงขอนำรากสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า (Root Cause of HEC) มาให้อ่านกัน เนื่องจากว่าวันนี้คือวันที่ 13 มีนาคม หรือ “วันช้างไทย
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างป่าที่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งคู่ เช่นในกรณีที่คนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการช้างถูกทำร้าย หรือการที่ช้างล้มจากการที่คนใช้รั้วไฟฟ้าอย่างไม่เหมาะสม และยังรวมไปถึงการที่ช้างออกมาทำลายพืชเกษตรและทรัพย์สินของชาวไร่ชาวนาอจนกระทบกับวิถีชีวิต และรายได้ของผู้คนที่อยู่ใกล้แหล่งอาศัยช้างป่า
สำหรับสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่านั้น งานวิจัยของ Desai & Riddle (2015) ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน ดังนี้
- ปัญหาการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก (Habitat loss and fragmentation) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าออกเป็นไร่เกษตรกรรม การตัดถนนผ่านเข้าไปในป่าหรือการสร้างเขื่อนในป่าอนุรักษ์ก็ถูกจัดให้เป็นการทำให้พื้นที่ป่ามีคุณภาพลดลง ส่วนหนึ่งจะส่งผลให้ป่าใหญ่แตกออกเป็นหย่อมป่าขนาดเล็ก หรือในกรณีที่แย่ที่สุด ป่าที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจไม่มีเหมาะสมที่จะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าอีกเลยก็ได้ (Sukumar 2006, Calabrese et al, 2017) ด้วยเหตุนี้ การที่พื้นที่ป่าลดลงจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า
- รอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่ของช้างป่า (Agricultural area-elephant habitat interface) คือพื้นที่ที่เขตป่าและพื้นที่ชุมชนหรือเกษตรกรรมมาบรรจบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวรอยต่อที่แบ่งป่ากับพื้นที่เกษตรกรรมออกอย่างชัดเจนนั้นจะทำให้การควบคุมปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ยากยิ่งขึ้น อีกนัยหนึ่งคือ หากยิ่งมีรอยต่อระหว่างเขตป่าและเกษตรกรรมมาก โอกาสที่จะเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- ประชากรของช้างป่า (Elephant population) ในหลายครั้ง เรามักจะได้ยินข่าวถึงช้างตายหรือช้างเกิดใหม่สลับกันไป แต่ในกรณีของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่านั้น พื้นที่ที่มีปัญหามักจะเกิดข้อสังเกตที่ว่า ช้างป่าออกลูกมากขึ้นและป่าไม่สามารถรองรับจำนวนช้างป่าที่เพิ่มขึ้นมาได้ ทำให้ช้างบางส่วนต้องออกมาจากป่าเพื่อมาหาอาหารกินในพื้นที่ชุมชน อย่างไรก็ตาม หากจะตอบคำถามนี้ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องหาคำตอบผ่านกระบวนการศึกษาศักยภาพการของพื้นที่ในการรองรับช้างป่าและการประเมินประชากรตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบ
การอนุรักษ์ช้างป่านั้นจะสำเร็จได้ยากมาก หากปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ายังคงรุนแรงดังเดิม สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น ปัญหานี้ไม่สามารถยกระดับให้ดีขึ้นได้ จากใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ยกตัวอย่างการที่ชุมชนจัดตั้งกลุ่มอาสาเฝ้าระวังช้างป่าของชุมชนแล้ว แต่ก็ไม่สามารถร่วมจัดการ หรือทำกิจกรรมเพื่อเสริมความสมบูรณ์ของพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าได้ หากขาดความร่วมมือและมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานี้จึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจและหาทางออกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รับฟัง และยืนอยู่บนหลักวิชาการอย่างบูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างน้อยที่สุดคือ ริเริ่มพัฒนาให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในจุดที่ยอมรับการทำงานร่วม เข้าใจระบบนิเวศของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง และยอมรับการดำรงอยู่ของช้างป่าในพื้นที่ของตน เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ในการใช้พื้นที่ร่วมกันตามบริบทของพื้นที่ และคำนึงถึงการปรับตัวอยู่ร่วมเชิงบวกอย่างยั่งยืนในระยะยาว หรือ “การจัดการเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติ”
Root cause of Human-Elephant Conflict (HEC)
Image illustrated by Phakhawat Thaweepworadel, content by Budda Chotimanvijit and Bhichet Noonto
According to IUCN Red List, Asian elephants (Elephas maximus) are listed as “Endangered species”. While in Thailand, they are “Protected animal” by Wildlife Protection Act B.E. 2535. However, they are still facing with the threats from habitat loss or fragmentation, poaching or domestication and human-elephant conflict. Due to the fact that today, 13th March, is Thailand Elephant Day, Human-Elephant Voices tend to share you some facts about the root cause of HEC.
Human-elephant conflict is one form of interaction between human and elephants but it is referred to the negative interaction between them. The result of HEC often tragic which including deaths or injuries of both human and elephants or properties and crop damages.
Desai and Riddle (2015) had classified the root causes of HEC into three categories which are:
- Habitat loss and fragmentation are from the forest cutting to build the settlement or agricultural areas or even the construction of road and dam in the forest. All these actions will degrade the forest quality for elephant which will consequently push the elephants to find another forest to live or come out from the forest to forage in agricultural area instead.
- Agricultural area-elephant habitat interference is where the area of agriculture and elephant habitat are contacted. Researchers found the if the interaction zone are larger, they will have a higher chance that conflicts will be more frequent and intense.
- Elephant population is not compatible with the remaining forest due to the habitat degradation or loos. This will force some elephants in the population to come out and find another habitat in human agricultural areas. However, the forest carrying capacity to support the elephant population must be further investigated in Thailand.
To conserve the elephant, much more attentions are needed to deal with the HEC. There is no one-pill solution to tackle with this conflict. All stakeholders that related to HEC have to cooperate and co-management willingly with the integration from scientific and social knowledge. At least, to the point that community and coexist peacefully with the elephants.
ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
For more news and detail on Human-Elephant Voices, please visit here
Facebook: humanelephantvoices
อ้างอิง
พิเชฐ นุ่นโต, ชุติอร ซาวินี, มัทนา ศรีกระจ่าง และ ชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ. (2561). เสียงคน เสียงช้างป่า: แนวโน้มการตอบสนองของชุมชนต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในประเทศไทย. กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น, กรุงเทพฯ.
Alfred, R., Ahmad, A. H., Payne, J., Williams, C., Ambu, L. N., How, P. M., et al. (2012). Home range and ranging behavior of bornean elephant (Elephas maximus borneensis) females. PLoS ONE 7: e31400. doi: 10.1371/journal.pone.0031400.
Baskaran, N., and Desai, A. A. (2000). Population and age structure of Asian Elephants (Elephas maximus) in Mudumalai Wildlife Sanctuary, Tamil Nadu. Technical Report to Bombay Natural History Society, India.
Bui,j R., McShea, W. J., Campbell, P., Lee, M. E., Dallmeier, F., Guimondou, S., Mackaga, L., Guisseougou, N., Mboumba, S., Hines, J., E, et al. (2007). Patch occupancy models indicate human activity as major determinant of forest elephant Loxodonta cyclotis seasonal distribution in an industrial corridor in Gabon. Biological Conservation. 135:189–201.
Calabrese, A., Calabrese, J. M., Songer, M., Wegmann, M., Hedges, S., Rose, R., and Leimgruber, P. (2017). Conservation status of Asian elephants: the influence of habitat and governance. Biodiversity Conservation. 26, 2067–2081. doi: 10.1007/s10531-017-1345-5.
Chiyo, P. I., Lee, P. C., Moss, C. J., Archie, E. A., Hollister-Smith, J. A. and Albertsa, S. C. (2011). No risk, no gain: effects of crop raiding and genetic diversity on body size in male elephants. Behavioral Ecology. 22, 552–558.
Desai, A. A. & Riddle, H. S. (2015). Human-Elephant Conflict in Asia. U.S. Fish and Wildlife Service and Asian Elephant Support. Url: https://www.fws.gov/international/pdf/Human-Elephant-Conflict-in-Asia-June2015.pdf.
Fernando, P., Wikramanayake, E., Weerakoon, D., Jyasinghe, L. K. A., Gunawardene, M., and Janaka, H.K. 2005. Perceptions and patterns of human-elephant conflict in old and new settlements in Sri Lanka: insights for mitigation and management. Biodiversity and Conservation. 14, 2465-2481.
Goswami, V. R., Medhi, K., Nichols, J. D., and Oli, M. K. (2015). Mechanistic understanding of human–wildlife conflict through a novel application of dynamic occupancy models. Conservation Biology. 29, 1100–1110. doi: 10.1111/cobi.12475.
Sukumar R. (2006). A brief review of the status, distribution and biology of wild Asian elephants Elephas maximus. Int. Zoo. Yearbook. 2006; 40: 1–8.