หลักการและเหตุผล
การอนุรักษ์และการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าสมัยใหม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงความต้องการ คุณค่าและความเชื่อของชุมชนและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้การแก้ปัญหาไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นคนกับช้างป่า หรือคนกับคน รวมทั้งควรสอดคล้องกับบริบทปัจจุบันของความขัดแย้ง โดยมีความเห็นและบทเรียนจากชุมชนเป็นหนึ่งในหลักการปฏิบัติเพื่อการตัดสินใจร่วมกัน หลายประเทศจึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น รูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากในการคลี่คลายปัญหาด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า หรือแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างมีส่วนร่วม คือการใช้เวทีสาธารณะทำความเข้าใจประเด็นที่เกิดความสงสัย ให้เกิดความเข้าใจ หรือเกิดฉันทามติในประเด็นที่ขัดแย้งกันผ่านการเสวนา ตัวอย่างประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่ชุมชนบางส่วนมีคำถามในเกือบทุกเวที ทุกภูมิภาคที่ทางโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติ เช่น
– สาเหตุที่ช้างป่าออกมาหากินนอกพื้นที่ป่าคืออะไร?
– ช้างที่ออกมาก่อปัญหากับชาวบ้านเป็นช้างปล่อย (ช้างเลี้ยง)?
– การให้อาหารช้างป่า ด้วยการกองอาหารพวกผลไม้ให้จะช่วยลดปัญหา?
– รั้วและคู คือ ทางออกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง?
– ระบบการชดเชยมีให้กับเกษตรกรมีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร ควรมีกองทุนช้างหรือไม่?
– พืชเชิงเดี่ยวกับปัญหาคนกับช้างป่า จะหาทางออกอย่างไร?
– ควรมีนโยบาย กฎหมายเพื่อดูแลปัญหาคนกับช้างป่าหรือไม่ อย่างไร?
ประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่มีพลวัตด้านสถานการณ์ความขัดแย้ง การจัดการ และความรู้งานวิจัยใหม่ จึงควรมีกลไกการติดตามที่สร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยน และสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้การคลี่คลายปัญหาคนกับช้างมีประสิทธิภาพ เกิดผลเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมพูดคุย สร้างทางออกที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงหากลไกส่งเสริมเพื่อให้เกิดระบบการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าในระยะยาว โครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าฯ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)) ร่วมกับภาคีเครือข่ายจึงได้จัดเวทีสาธารณะขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อร่วมสร้างการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ข้อเสนอในการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง
2. เชื่อมประสานการทำงาน และร่วมกันออกแบบกลไกการหนุนเสริมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ เพื่อให้เกิดแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการสร้างระบบเพื่อการอยู่ร่วมระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติ
เชิญผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 90 ท่าน (ผู้เข้าร่วมอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม)
1. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น
2. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
3. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
4. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
5. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
6. นักวิจัยชุมชน/ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติสลักพระ
7. ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากป่าตะวันออก
8. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
9. กรมป่าไม้
10. นายอำเภอปากช่อง
11. ตัวแทนจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
12. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
13. สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
14. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
15. สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand)
16. มูลนิธิ Freeland
17. กลุ่มมิตรช้างป่าห้วยเขย่ง
18. ชมรมฅนรักษ์สัตว์-ป่า
19. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
20. สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย (Wildlife Conservation Society)
21. มูลนิธิพาช้างกลับบ้าน Bring the Elephant Home
22. Comparative Cognition for Conservation Lab, Hunter College, City University of New York
23. เกษตรอำเภอปากช่อง
24. สถานีวิจัยดงพญาเย็น-เขาใหญ่
25. ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
26. กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว (มีจุดยืนด้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ)
27. มูลนิธิสามเหลี่ยมทองคำ Golden Triangle Asian Elephant Foundation
28. ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
29. ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
30. ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดอยุธยา
31. ทีมวิจัยโครงการ การวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ฯ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.))
เบอร์ติดต่อผู้ดำเนินการ: 089-117-2306, 087-671-9121
แนะนำการเดินทาง
* ผู้เดินทางมาเข้าร่วมงานในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ขอความร่วมมือให้มาถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก่อน 16:00 น. เพื่อลดความเสี่ยงในการพบช้างป่าระหว่างทาง
Google Maps: ที่พักศูนย์ฝึกอบรม https://goo.gl/maps/z83LYhut8CMi98hM7
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
แผนผังที่พัก
Google Maps: ที่พักศูนย์ฝึกอบรม https://goo.gl/maps/z83LYhut8CMi98hM7