Thong Pha Phum

Home / Thong Pha Phum

การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิต แปรรูป และตลาดของพืชท้องถิ่นแบบครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ชุมชนตำบลห้วยเขย่ง ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เป็นชุมชนดั้งเดิมที่ถูกย้ายขึ้นมาพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากการสร้างเขื่อนเขาแหลม ชุมชนในตำบลห้วยเขย่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชสำคัญที่เพาะปลูก เช่น  ยางพารา ข้าวไร่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผัก ผู้คนในชุมชนตำบลห้วยเขย่ง มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งชนชาติพันธุ์มอญ กะเหรี่ยง ทวาย และลาว ส่วนคนไทยมีทั้งคนไทยจากภาคเหนือ อีสาน ที่มาเป็นแรงงานสมัยการสร้างเขื่อนเขาแหลม เช่นเดียวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่พื้นที่ตำบลห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะสัตว์เฉพาะถิ่นที่ค้นพบ เช่น ปูราชินี ค้างคาวกิตติ และป่าพุ ซึ่งเป็นระบบนิเวศพิเศษที่พบในเทือกเขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี

พื้นที่ทองผาภูมิ มีช้างป่าอยู่แต่ดั้งเดิมตามคำบอกเล่าของควาญชาวกะเหรี่ยง โดยช้างป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติไทรโยค และอุทยานแห่งชาติเขาแหลม หรือป่าตะวันตกโซนใต้ เชื่อมต่อกับป่าทะนินทะยีประเทศพม่า คาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 100-150 ตัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ตำบลห้วยเขย่งเริ่มมีช้างป่าออกมาหากินข้าวไร่ ข้าวโพดและมันสำปะหลัง โดยช้างป่าบางกลุ่มได้ออกมาหากินตามชายป่าเป็นประจำ บริเวณลำห้วยพลู บ้านปากลำปิล๊อก และหมู่บ้านห้วยเขย่ง ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจเกิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปรบกวนช้างป่า จากการทำงานในพื้นที่ร่วมกันของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ กลุ่มภูมิรู้นิเวศและวิจัยเชิงปฏิบัติ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก และกลุ่มอนุรักษ์ช้างป่าห้วยเขย่ง ช่วยให้พื้นที่ห้วยเขย่งมีข้อมูลพื้นฐานช้างป่า และมีการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา จนสามารถลดผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ได้ ด้วยการทดลองจัดระบบเฝ้าระวัง การปรับปรุงแหล่งอาศัยช้างป่า และการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยช้างป่า

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเฝ้าระวัง แต่ช้างป่ามีการเรียนรู้และปรับตัวต่อการเฝ้าระวังโดยตลอด มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายตัวไม่อยู่ประจำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งวิธีการเฝ้าระวังดังกล่าวจำเป็นต้องใช้กำลังคนในครอบครัวเพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ด้วยสภาพเศรษฐกิจ คนวัยแรงงานในตำบลห้วยเขย่งส่วนใหญ่ได้ออกไปหารับจ้างในตัวเมืองกาญจนบุรี และกรุงเทพฯ จึงทำให้ขาดแรงงานไม่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อเฝ้าระวังช้างป่า

ทีมวิจัยจาก สกสว. ร่วมกับชุมชนตำบลห้วยเขย่ง มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และมูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก จึงได้ชวนคิดชวนคุยกับผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาช้างป่ารบกวนพืชผลทางการเกษตร โดยอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติที่ดีต่อทั้งคนและช้าง ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตถึงพืชท้องถิ่นในตำบลห้วยเขย่งที่ไม่ถูกช้างป่ารบกวน โดยตัวแทนชุมชนคิดว่าการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยพืชเกษตรที่ไม่ดึงดูดช้างป่า และได้รับผลกระทบน้อยเมื่อช้างป่าเดินผ่าน  พืชท้องถิ่นต้องสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ปัจจุบันทีมงานวิจัยกำลังค้นหาบันทึกพืชที่ไม่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ทดลองแปรรูปพืชที่ช้างป่าไม่กินเป็นผลิตภัณฑ์ และศึกษาพฤติกรรมช้างป่าออกนอกพื้นที่ไปพร้อมกัน

วัตถุประสงค์โครงการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตรตำบลห้วยเขย่ง
  2. เพื่อศึกษาความหลากหลาย และศักภาพของพืชเกษตรท้องถิ่น เพื่อการผลิตอย่างครบวงจร และสามารถลดผลกระทบจากช้างป่าได้
  3. เพื่อศึกษาและทดลองปลูกพืชเกษตรท้องถิ่นที่เป็นทางเลือกอย่างครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า

องค์กรร่วมวิจัย

มูลนิธิสืบ

กิจกรรมในพื้นที่

KMITL’s field excursion to Thong Pha Phum Human-Elephant Coexistence Project Nov 2020

KMITL’s field excursion to Thong Pha Phum Human-Elephant Coexistence Project Nov 2020

นักศึกษาลาดกระบังดูงานวิจัยการปลูก แปรรูปและการตลาดพืชท้องถิ่นแบบครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า
KMITL’s field excursion to Thong Pha Phum Human-Elephant Coexistence Project

Thong Pha Phum Oct 2020 : Prepared soil bag and nursery for cultivating.

Thong Pha Phum Oct 2020 : Prepared soil bag and nursery for cultivating.

กิจกรรมวิจัยท้องถิ่นทองผาภูมิ เดือนตุลาคม 2563 เพาะกล้าชนิดพันธุ์พืชที่ไม่ถูกช้างป่ารบกวน ณ บ้านปากลำปิล๊อก ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Thong Pha Phum Sep 2020 : Meeting for presenting the alternative crops for reducing elephant impacts at Huai Khayeng

Thong Pha Phum Sep 2020 : Meeting for presenting the alternative crops for reducing elephant impacts at Huai Khayeng

ถอดบทเรียนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าบ้านหม่องกะลา และพืชทางเลือกเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติ Elephant repellent patrolling unit and alternative crop management

Thong Pha Phum : September 2020

Thong Pha Phum : September 2020

กิจกรรมสร้างเรือนเพาะชำสำหรับเพาะปลูกพืชที่ช้างไม่กินโดยทีมวิจัยท้องถิ่นทองผาภูมิ Alternative crop nursery by Thong Pha Phum Community-based Research Team

Thong Pha Phum : August 2020

Thong Pha Phum : August 2020

กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิเดือนสิงหาคม 2563
Thong Pha Phum activity update of August 2020

Thong Pha Phum : July 2020

Thong Pha Phum : July 2020

กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิเดือนกรกฎาคม 2563
Update from Thong Pha Phum Community-based Research Team, July 2020

Thong Pha Phum : June 2020

Thong Pha Phum : June 2020

ผลการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ทองผาภูมิเดือนมิถุนายน 2563
Summary of activities from Thong Pha Phum Research Team and partners, June 2020