เวทีสาธารณะ “เสียงคน เสียงช้างป่า ครั้งที่ 2” วาระการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างอย่างสันติ ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้เสร็จสิ้นลงไปแล้วเมื่อวันที่ 25-26 กรกฏาคม 2563 ที่ผ่านมา
แม้งานการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเสร็จสิ้น แต่งานสร้างสันติที่คนทำงานเพื่อช้างป่าและชุมชนยังคงดำเนินต่อ นักวิจัยชุมชนได้สื่อสารงานของตนเองและได้เห็นแนวทางที่จะเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพื้นที่วิจัย เชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการ และเชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่มีใจรักษ์ช้าง และมองเห็นความตั้งใจของชุมชนที่จะอยู่ร่วมกับช้างป่าในวิถีสันติ
ข้อสรุป ข้อจำกัด และแนวทางเพื่อบรรลุผลในการสร้างระบบนิเวศการทำงานเพื่อคนอยู่ร่วมกับช้าง ทางทีมวิจัยโครงการพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างฯ และภาคีเครือข่ายจะได้สรุปและนำเสนอบนสื่อของโครงการฯ และขับเคลื่อนให้เกิดผลเชิงรูปธรรมทั้งในระดับปฏิบัติและระดับนโยบายต่อไป
ขอขอบคุณนักวิจัยและภาคีเครือข่ายคนกับช้างป่า ที่เข้าร่วมสนับสนุนจนเวทีบรรลุวัตถุประสงค์ในเบื้องต้น แล้วพบกันใหม่เร็ว ๆ นี้
ภาพบรรยากาศเวทีสาธารณะเสียงคน เสียงช้างป่า ครั้งที่ 2
วาระการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างอย่างสันติ
นำกระบวนการพูดคุยโดย คุณอรุณ พิลาชื่น จาก Community-Wildlife Conservation (CWC) และ ผศ. พีรชัย กุลชัย ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ป่า
โดย 1. ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นเขาใหญ่ 2. ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นกุยบุรี 3. มูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland Foundation) 4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์สัตว์ป่าวังน้ำเขียว 5. คุณธนศิษฐ์ พิบูลน์วัฒนา หัวหน้ากลุ่มโฮมสเตย์ช้างป่า กุยบุรี และ 6. คุณจอห์น โรเบิร์ต (John Roberts) จาก Group Director of Sustainability & Conservation Minor Hotels and Golden Triangle Asian Elephant Foundation (GTAEF) นำกระบวนการพูดคุยโดย คุณพิเชฐ นุ่นโต หัวหน้าโครงการวิจัยฯ
การศึกษาพฤติกรรมช้างเพื่อลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า
โดย ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างจาก 6 พื้นที่วิจัย และ นายวีรัช เจริญตัณธนกุล และนางสาวพรพิมล ขับสนิท จาก Comparative Cognition for Conservation Lab (CCC), Hunter College, City University of New York นำกระบวนการพูดคุยโดย คุณรชยา อาคะจักร นักวิจัยสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง/ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างภูหลวง และ ดร.นพดล ประยงค์ ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างใต้ร่มเย็น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า
โดย 1. ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นทองผาภูมิ 2. ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นภูหลวง 3. สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง 4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมิตรช้างป่าห้วยเขย่ง และ 5. คุณเดวิด โอเว่น (David Owen) และคุณประไพภัทร ศิริบัติ จาก มูลนิธิพาช้างกลับบ้าน (Bring the Elephant Home) นำกระบวนการพูดคุยโดย คุณปราโมทย์ ศรีใย ฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบ/ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างภูหลวง และ คุณรชยา อาคะจักร นักวิจัยสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง/ทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นคนกับช้างภูหลวง
ผู้สนับสนุนและภาคีเครือข่าย