การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืน พื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย Developing a sustainable model for human-elephant coexistence in Thailandภายใต้ Darwin Initiative, UK Government Grant
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม ธันวาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
ด้วยทาง สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง (Human and Elephant Voices Network) มีความประสงค์ในการขับเคลื่อนการสร้างระบบและองค์ความรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั่วประเทศ โดยดำเนินงานวิจัยและสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนและรัฐเพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบนพื้นฐานงานวิจัยและพัฒนา บนข้อค้นพบจากงานวิจัยและสถานการณ์พบว่า ปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์กำลังขยายตัว และจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของช้างป่า หากยังไม่มีระบบการบริหารจัดการช้างป่าบริเวณนอกพื้นที่อนุรักษ์ ที่คู่ขนานไปกับระบบการคุ้มครองและบริหารจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้างป่า และภาคประชาสังคมที่มีความสนใจการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์บทเรียนการจัดการช้างป่านอกพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นพื้นที่รองรับช้างป่าที่สำคัญของประเทศไทย และนำเสนอการพัฒนาเครื่องมือการจัดการช้างป่าที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน เช่น นวัตกรรมการจัดการพื้นที่เชิงระบบนิเวศ นวัตกรรมการเงินเพื่อความยั่งยืนในการลดผลกระทบระหว่างคนกับช้างป่า จนได้รับทุนสนับสนุนจาก Darwin Initiative จากรัฐบาลอังกฤษ ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย
โดยโครงการฯ มีเป้าหมายหนุนเสริมเพิ่มศักยภาพองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ด้วยการประเมินศักยภาพไปพร้อมกับหนุนเสริมประสิทธิภาพกลุ่มและองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่สำคัญในประเทศไทย โดยครอบคลุมกลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว และกลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด ซึ่งโครงการมีเป้าหมายที่ท้าทายในการให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และสร้างความรู้ ถอดบทเรียน และเกิดนวัตกรรมด้านการเงินเพื่อจัดการช้างป่าร่วมกันในกรอบระยะเวลา 3 ปี
การประชุมของโครงการ ฯ ในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ณ ณ อบต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นการรวมเครือข่ายพื้นที่อนุรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ในการจัดเวทีเชิงปฏิบัติการ ฯ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรและภาคีเครือข่ายในการจัดการช้างป่า ด้วยการหนุนเสริมการสรุปปบทเรียนการจัดการ และการสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการช้างป่าจากงานวิจัยและบทเรียนการจัดการในพื้นที่ป่าตะวันออก
2.เพื่อพัฒนารูปแบบเวทีระดับภูมิภาคให้ตอบสนองเป้าหมายของโครงการวิจัย ไปพร้อมกับช่วยพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายในการจัดการช้างป่า และหนุนเสริมวาระการจัดการช้างป่าในกลุ่มป่าตะวันออกให้มี การขับเคลื่อน ครอบคลุม และเป็นธรรม
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 50 ท่าน (เจ้าหน้าที่และตัวแทนชุมชน)
สถานที่ อบต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
กำหนดการ
08.00–09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวที นิทรรศการจากหน่วยงานที่เข้าร่วม
09.00–09.10 น. กล่าวเปิดประชุม โดย นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
09.10–09.20 น. กล่าวแนะนำองค์กรที่เข้าร่วมประชุม
09.20-09.30 น. บรรยายภาพรวมโครงการวิจัยฯ คุณ May Moe Wah ผู้จัดการสมาคมสัตว์วิทยาแห่งลอนดอน ZSL (ประเทศไทย) คุณพิเชฐ นุ่นโต เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง
09.30–10.30 น. เสวนาบทเรียนการจัดการช้างป่าตะวันออก โดย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) นำการเสวนาโดย ผศ.พีรชัย กุลชัย เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง (Human and Elephant Voices Network)
10.30-10.45 น. พักเบรก
10.45-12.15 น. เสวนาเรื่อง “การกระจายอำนาจการจัดการช้างป่า” โดย นายสมพร วงษ์ประดิษฐ์ นายก อบต วังจันทร์ จังหวัดระยอง ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.พรรคก้าวไกล นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตัวแทนคณะกรรมการกระจายอำนาจ นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ สำนักรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายตาล วรรณกูล ศูนย์เรียนรู้ช้างป่าภาคตะวันออก นำการเสวนาโดย วิภาพร วัฒนวิทย์ ไทยพีเอส
12.15–13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00-14.30 น. การพัฒนาแนวทางการจัดการช้างป่าระดับท้องถิ่น แบ่งกลุ่มตามจังหวัด เพื่อระดมสมองสร้างแผนการปฏิบัติการระดับพื้นที่ อภิปรายแผนตามฉากทัศน์ที่สรุปจากเวทีเสวนาช่วงเช้า
14.45-16.15 น. รูปแบบการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมนำเสนอ และร่วมเติมเป็น roadmap ของการจัดการอย่างมีส่วนร่วม ในแต่ละฉากทัศน์ อภิปรายร่วมระหว่างผู้เข้าร่วมและผู้ทรงคุณวุฒิ
ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
Facebook: Human Elephant Voices – Home | Facebook