การพัฒนาแนวทางเพื่อการจัดการช้างป่าเชิงบูรณาการ กลุ่มป่าแก่งกระจาน พื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

การพัฒนาแนวทางเพื่อการจัดการช้างป่าเชิงบูรณาการ กลุ่มป่าแก่งกระจาน พื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

การประชุมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาแนวทางเพื่อการจัดการช้างป่าเชิงบูรณาการ กลุ่มป่าแก่งกระจาน พื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย

สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย (ZSL Thailand) และเครือข่ายเสียงคนเสียงช้างป่า และภาคประชาสังคมที่มีความสนใจการอนุรักษ์และจัดการช้างป่า จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์บทเรียนการจัดการช้างป่านอกพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นพื้นที่รองรับช้างป่าที่สำคัญของประเทศไทย และนำเสนอการพัฒนาเครื่องมือการจัดการช้างป่าที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน เช่น นวัตกรรมการจัดการพื้นที่เชิงระบบนิเวศ นวัตกรรมการเงินเพื่อความยั่งยืนในการลดผลกระทบระหว่างคนกับช้าง ป่า จนได้รับทุนสนับสนุนจาก Darwin Initiative จากรัฐบาลอังกฤษ ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนา ต้นแบบเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับช้างในประเทศไทย

โดยโครงการฯ มีเป้าหมายหนุนเสริมเพิ่มศักยภาพองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างคน กับช้างป่า ด้วยการประเมินศักยภาพไปพร้อมกับหนุนเสริมประสิทธิภาพกลุ่มและองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการ แก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่สำคัญในประเทศไทย โดยครอบคลุม กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าตะวันออก กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว และกลุ่มป่าเขาหลวงเขาบรรทัด ซึ่งโครงการมีเป้าหมายที่ท้าทายในการให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และ สร้างความรู้ ถอดบทเรียน และเกิดนวัตกรรมด้านการเงินเพื่อจัดการช้างป่าร่วมกันในกรอบระยะเวลา 3 ปี

การประชุมของโครงการฯ ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-22 ตุลาคม 2566 หมู่บ้านรวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการรวมเครือข่ายพื้นที่ อนุรักษ์ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน จัด การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางเพื่อการจัดการช้างป่าเชิง บูรณาการ กลุ่มป่าแก่งกระจาน พื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์การประชุม

1. เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรและภาคีเครือข่ายพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีในการจัดการช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ ด้วยการหนุนเสริมการสรุปบทเรียนการจัดการ และการสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการช้างป่าจากประสบการณ์ และบทเรียนการจัดการช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

2. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการช้างป่าอย่างมีบูรณาการที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมแลกเปลี่ยน เกิดความเข้าใจ ในข้อมูลและสถานการณ์ช้างป่าที่ตรงกัน นำไปสู่การออกแบบการจัดการอย่างมีส่วนร่วม

3. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการช้าง ด้วยนวัตกรรมการจัดการที่พัฒนาในบริบทของพื้นที่กุยบุรี เช่น การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ การพัฒนาอาชีพทางเลือก และกองทุนขนาดเล็กเพื่อลดผลระทบจากช้างป่า

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 70 ท่าน

สถานที่ ศูนย์ OTOP หมู่บ้านรวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์


ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
Facebook: Human Elephant Voices – Home | Facebook