คาราวาน คน ช้างป่า แ...
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิต แปรรูป และตลาดของพืชท้องถิ่นแบบครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ชุมชนตำบลห้วยเขย่ง ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เป็นชุมชนดั้งเดิมที่ถูกย้ายขึ้นมาพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากการสร้างเขื่อนเขาแหลม ชุมชนในตำบลห้วยเขย่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชสำคัญที่เพาะปลูก เช่น ยางพารา ข้าวไร่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผัก ผู้คนในชุมชนตำบลห้วยเขย่ง มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งชนชาติพันธุ์มอญ กะเหรี่ยง ทวาย และลาว ส่วนคนไทยมีทั้งคนไทยจากภาคเหนือ อีสาน ที่มาเป็นแรงงานสมัยการสร้างเขื่อนเขาแหลม เช่นเดียวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่พื้นที่ตำบลห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะสัตว์เฉพาะถิ่นที่ค้นพบ เช่น ปูราชินี ค้างคาวกิตติ และป่าพุ ซึ่งเป็นระบบนิเวศพิเศษที่พบในเทือกเขาหินปูนของจังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่ทองผาภูมิ มีช้างป่าอยู่แต่ดั้งเดิมตามคำบอกเล่าของควาญชาวกะเหรี่ยง โดยช้างป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติไทรโยค และอุทยานแห่งชาติเขาแหลม หรือป่าตะวันตกโซนใต้ เชื่อมต่อกับป่าทะนินทะยีประเทศพม่า คาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 100-150 ตัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ตำบลห้วยเขย่งเริ่มมีช้างป่าออกมาหากินข้าวไร่ ข้าวโพดและมันสำปะหลัง โดยช้างป่าบางกลุ่มได้ออกมาหากินตามชายป่าเป็นประจำ บริเวณลำห้วยพลู บ้านปากลำปิล๊อก และหมู่บ้านห้วยเขย่ง ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจเกิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปรบกวนช้างป่า จากการทำงานในพื้นที่ร่วมกันของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ กลุ่มภูมิรู้นิเวศและวิจัยเชิงปฏิบัติ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก และกลุ่มอนุรักษ์ช้างป่าห้วยเขย่ง ช่วยให้พื้นที่ห้วยเขย่งมีข้อมูลพื้นฐานช้างป่า และมีการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา จนสามารถลดผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ได้ ด้วยการทดลองจัดระบบเฝ้าระวัง การปรับปรุงแหล่งอาศัยช้างป่า และการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยช้างป่า
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเฝ้าระวัง แต่ช้างป่ามีการเรียนรู้และปรับตัวต่อการเฝ้าระวังโดยตลอด มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายตัวไม่อยู่ประจำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งวิธีการเฝ้าระวังดังกล่าวจำเป็นต้องใช้กำลังคนในครอบครัวเพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ด้วยสภาพเศรษฐกิจ คนวัยแรงงานในตำบลห้วยเขย่งส่วนใหญ่ได้ออกไปหารับจ้างในตัวเมืองกาญจนบุรี และกรุงเทพฯ จึงทำให้ขาดแรงงานไม่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อเฝ้าระวังช้างป่า
ทีมวิจัยจาก สกสว. ร่วมกับชุมชนตำบลห้วยเขย่ง มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และมูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก จึงได้ชวนคิดชวนคุยกับผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาช้างป่ารบกวนพืชผลทางการเกษตร โดยอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติที่ดีต่อทั้งคนและช้าง ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตถึงพืชท้องถิ่นในตำบลห้วยเขย่งที่ไม่ถูกช้างป่ารบกวน โดยตัวแทนชุมชนคิดว่าการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยพืชเกษตรที่ไม่ดึงดูดช้างป่า และได้รับผลกระทบน้อยเมื่อช้างป่าเดินผ่าน พืชท้องถิ่นต้องสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ปัจจุบันทีมงานวิจัยกำลังค้นหาบันทึกพืชที่ไม่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ทดลองแปรรูปพืชที่ช้างป่าไม่กินเป็นผลิตภัณฑ์ และศึกษาพฤติกรรมช้างป่าออกนอกพื้นที่ไปพร้อมกัน
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
- เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตรตำบลห้วยเขย่ง
- เพื่อศึกษาความหลากหลาย และศักภาพของพืชเกษตรท้องถิ่น เพื่อการผลิตอย่างครบวงจร และสามารถลดผลกระทบจากช้างป่าได้
- เพื่อศึกษาและทดลองปลูกพืชเกษตรท้องถิ่นที่เป็นทางเลือกอย่างครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า
นายปราโมทย์ ศรีใย
พี่เลี้ยงโครงการวิจัยฯ
นายเอื้อการย์ อารามรักษ์
นักวิจัยฯ ฝ่ายข้อมูลช้างป่า
นางสาวปิตุกาญจน์ นุชสวาท
นักวิจัยฯ ฝ่ายประสานงานวิสาหกิจชุมชน
นางสาวอัจฉรา เมธาหิรัญกุล
นักวิจัยฯ
นางสาววาศินี เทียมสอน
นักวิจัยฯ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมิตรช้างป่าห้วยเขย่ง
องค์กรร่วมวิจัย
กิจกรรมในพื้นที่
กาแฟช้างป่า ออกบูธ KAN CRAFFEE 2023
กาแฟช้างป่า โดยเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว KAN CRAFFEE 2023 ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2566
เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างระดมทุนเพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่าใน 3 หมู่บ้าน ของ อ. ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี
เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอม เพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่า
ระยะเวลาโครงการ 15 พ.ย. 2564 ถึง 15 พ.ค. 2565
กิจกรรมพื้นที่ทองผาภูมิ กันยายน 2564
กิจกรรมพื้นที่ ทองผาภูมิ เดือน กันยายน 2564
เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างเข้าพื้นที่ทองผาภูมิ บริเวณบ้านภูเตย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ และบ้านดงเล็ก ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงวันที่ 28 กันยายน ถึง 3 ตุลาคม 2564
กิจกรรมพื้นที่ทองผาภูมิ: เดือนมิถุนายน 2564
เครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง พื้นที่ทองผาภูมิ เข้าสำรวจร่องรอยช้างป่าและพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณบ้านภูเตย บ้านเขาพระอินทร์ ตำบลชะแล ตำบลสหกรณ์นิคม ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ พฤศจิกายน 2563: นักศึกษาลาดกระบังดูงานวิจัยพืชท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า
นักศึกษาลาดกระบังดูงานวิจัยการปลูก แปรรูปและการตลาดพืชท้องถิ่นแบบครบวงจรเพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า
KMITL’s field excursion to Thong Pha Phum Human-Elephant Coexistence Project
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ ตุลาคม 2563: เพาะกล้าชนิดพันธุ์พืชที่ไม่ถูกช้างป่ารบกวน
กิจกรรมวิจัยท้องถิ่นทองผาภูมิ เดือนตุลาคม 2563 เพาะกล้าชนิดพันธุ์พืชที่ไม่ถูกช้างป่ารบกวน ณ บ้านปากลำปิล๊อก ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ ตุลาคม 2563: ถอดบทเรียนการเฝ้าระวังและเพาะชำกล้าไม้เพื่ออยู่ร่วมกับช้าง
ถอดบทเรียนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าบ้านหม่องกะลา และพืชทางเลือกเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติ Elephant repellent patrolling unit and alternative crop management
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ: กันยายน 2563
กิจกรรมสร้างเรือนเพาะชำสำหรับเพาะปลูกพืชที่ช้างไม่กินโดยทีมวิจัยท้องถิ่นทองผาภูมิ Alternative crop nursery by Thong Pha Phum Community-based Research Team
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ: สิงหาคม 2563
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิเดือนสิงหาคม 2563
Thong Pha Phum activity update of August 2020
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ: กรกฎาคม 2563
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิเดือนกรกฎาคม 2563
Update from Thong Pha Phum Community-based Research Team, July 2020
กิจกรรมพื้นที่วิจัยทองผาภูมิ: มิถุนายน 2563
ผลการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ทองผาภูมิเดือนมิถุนายน 2563
Summary of activities from Thong Pha Phum Research Team and partners, June 2020