เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างสลักพระจากพื้นที่บ้านท่ามะนาว โป่งหวายและปากนาสวนได้จัดกิจกรรมเวที ถอดบทเรียนทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างสลักพระ ในโครงการ การศึกษาแนวทางการป้องกันและลดผลกระทบจากช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม บริเวณพื้นที่รอบแนวเขตด้านตะวันตกของเขตรักษาพันธุสัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ณ ห้องประชุม อาคารองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มูลนิธิสัตววิทยาแห่งลอนดอน ประเทศไทย ทีมวิจัยโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าฯ (ทีมกลาง) ตัวแทนจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ และ ดร. เบญจพร ดีขุนทด ทีมวิจัยโครงการการทบทวนและสังเคราะห์วิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ
ในเวทีนี้ ทีมกลางนำกระบวนการ ถอดบทเรียนทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างสลักพระ โดยใช้กิจกรรมเส้นเวลา (Timeline) กับกิจกรรมที่ได้ลงมือทำและแผนภูมิต้นไม้เพื่อประเมินสถานการณ์ ความร่วมมือและผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ กิจกรรมของทีมวิจัยสลักพระสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) การศึกษาระบบนิเวศช้างป่า 2) การลดผลกระทบจากช้างป่ากินพืชไร่ด้วยไฟสปอตไลท์ และ 3) การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ในภาพรวม ความพึงพอใจของทีมวิจัยต่อโครงการนั้นอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ และก็ยังมีแนวทางสำหรับการขยายงานต่อในอนาคตอีกเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานในพื้นที่
ในช่วงบ่าย ทีมวิจัยท้องถิ่นคนกับช้างสลักพระได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงการ และพาทีมกลางกับ ดร. เบญจพรลงพื้นที่แปลงเกษตรกรรมทั้งไร่มันสำปะหลัง พืชสวนผสมและแปลงกระเจี๊ยบของทีมวิจัยคนกับช้างบ้านท่ามะนาว
On November 8th, 2020
Salakpra Community-based Research team from Ban Tha Manow, Ban Pong Whai, Ban Pak Na Suan has arranged the meeting for lessons learned from Salakpra Human-Elephant Coexistence Project at Wang Dong Sub-district Administration Office, Mueang District, Kanchanaburi Province. The attendants were ZSL Thailand, Thailand Human-Elephant Coexistence Project (THECx), Salakpra Wildlife Sanctuary officer and Dr. Benchapohn Deekhuntod.
The meeting was arranged to summarize the lessons learned from the Salakpra Human-Elephant Coexistence Project which can be categorized into three parts: elephant ecology, reducing crop-raiding impact and human-relationship management. Overall, the research team was quite satisfied with the result of their activity. Moreover, they also suggested the way forward of this program together.
In the afternoon, Salakpra Community-based Research team presented a progress report of their project. After that, they accompanied attendants to the research area in Ban Tha Manow for studying the mitigation techniques and mixed-agriculture.
ติดตามข่าวสารเสียงคน เสียงช้างได้ที่นี่
For more news and detail on Human-Elephant Voices, please visit here
Facebook: humanelephantvoices