กิจกรรมพื้นที่วิจัยกุยบุรี: กรกฎาคม 2563

กิจกรรมพื้นที่วิจัยกุยบุรี: กรกฎาคม 2563

วันที่ 1 ก.ค.2563 เวลา 10:00-12:00น. 

ทีมวิจัยและผู้สนใจโครงการฯ ร่วมประชุมวางแผนการดำเนิน มีรายละเอียด ดังนี้

1. ทีมวิจัยร่วมออกแบบแปลงเกษตร เพื่อปรับเปลี่ยนพืชหลังจากเก็บข้อมูลเรื่องพืชที่ช้างทำลายน้อย โดยออกแบบรูปแบบแปลงที่จะทำใหม่แทนแปลงเก่า และมีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความเสียหายหลังจากปรับเปลี่ยนแปลงรูปแปลงเกษตรที่ช้างป่าไม่กินเสริมเข้าไป

2. วางแผนการจัดเวทีที่หลังจากสถานการณ์โควิด ให้มีการดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนงานวิจัยที่วางไว้

3. การศึกษาลักษณะห้างเฝ้าช้าง โดยกำหนดรูปแบบและกำหนดจุดที่ช้างออกมาเป็นประจำจากข้อมูลงานวิจัยที่ที่ร่วมกันเก็บข้อมูล และในที่ประชุมมีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงเป็นห้างเฝ้าระวังช้างเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของแปลง เนื่องจากในอดีต ห้างเฝ้าระวังช้างมีความหลากหลาย บางห้างไม่ปลอดภัยต่อผู้เฝ้าระวัง

4. การออกแบบเพื่อวางแผนการท่องเที่ยว”ชวนเพื่อนเฝ้าช้าง”  โดยให้ทำแบบสอบถามเพื่อถามความต้องการของนักท่องเที่ยวว่าต้องการอะไร แบบไหน เพื่อการจัดการให้ตรงจุด หรือเป็นแผนรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต รวมถึงประเมินร่วมกันในทีมวิจัยถึงศักยภาพในการปรับตัวเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เพื่อลดผลกระทบจากช้างป่า

On 1st July 2020.

The Kui Buri Community-based Research Team had a monthly meeting with local partners at Ban Ruam Thai Village, Kui Buri District, Prachuap Kirikhan Province. As a result, the activity summary are listed below:

1. The Community-based Research Team had summarized the crops that were not damaged by elephants and planned for alternative farming by using the certain crop species combined with the former crop species. Moreover, the elephant crop-damage monitoring was also planned for comparing their effectiveness.

2. Planning for future team management and meeting under the COVID-19 situation.

3. Summarizing the elephant occurrence hotspots from participants for the design and assessment of elephant repelling platforms. The re-designed platforms will be safer for farmers in order to protect their crops against the elephants.

4. Assessment of “Elephant watching at farm” activity for tourists. The Community-based Research Team had discussed the possibility and how to get the best result from this activity by aiming to questionnaire tourists and also crop owners who will accommodate tourists and face elephants. All in all, the aim of this activity is to reduce the conflict level in the areas.

ภาพแปลงทดลองปรับเปลี่ยนพืชในพื้นที่เกษตรของทีมวิจัยชุมชน, Figures of farms’ zoning by community-based research team